นนี้ขอเล่าเรื่องที่อาจจะไม่ค่อยเกี่ยวกับวงการไอทีสักหน่อย

{[['']]}

ผมเชื่อว่าผู้อ่านทุกคนของคอลัมน์นี้คงไม่มีใครไม่รู้จักสตีฟ จ็อบส์ ซีอีโอของบริษัทแอปเปิล และก็คงไม่มีใครไม่รู้จักบิล เกตส์ อดีตซีอีโอของบริษัทไมโครซอฟท์ ทั้งสองคนเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในวงการคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เป็นทั้งเพื่อนร่วมงานและคู่แข่งทางการค้าซึ่งกันและกัน แต่ช่วงนี้เรา ๆ ท่าน ๆ อาจจะได้ยินข่าวของ จ็อบส์ และ แอปเปิลบ่อยครั้งขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่จ็อบส์เสียชีวิตลงและกลายเป็นตำนาน พร้อม ๆ กับที่แอปเปิลเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทยอยเปิดตัวอย่าง สม่ำเสมอ ในขณะที่เกตส์ซึ่งลาออกจากตำแหน่งซีอีโอของไมโครซอฟท์ไปตั้งแต่ปี 2551 กลับไม่ค่อยเป็นข่าว หรือมีเหตุการณ์ให้เรานึกถึงอยู่เท่าไร แต่เชื่อหรือไม่ ณ วันนี้ มีคนผู้หนึ่งพูดอย่างมั่นใจว่า อีก 50 ปีข้างหน้า ผู้คนจะจดจำบิล เกตส์ ในขณะที่สตีฟ จ็อบส์จะถูกลืมเลือนหลายคนคงคิดว่าเป็นการยากที่จะเชื่อ คนที่พูดดังกล่าวคือ มัลคอล์ม เกลดเวลล์ นักเขียนจากวารสาร เดอะ นิว ยอร์กเกอร์ (The New Yorker) และผู้แต่งหนังสือระดับ Best Sellers หลายเล่ม เช่น The Tipping Point (ฉบับแปลไทยชื่อ จุดชนวนคิด พลิกสถานการณ์) และ Outliers (ฉบับแปลไทยชื่อ สัมฤทธิ์พิศวง) เกลดเวลล์แสดงความเห็นของเขาออกมาในงาน Appel Salon ณ ห้องสมุด Toronto Public Library ประมาณปลายเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่คนในวงการไอทีถกเถียงกันมากมาย เกลดเวลล์กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้เขาเชื่อว่าผู้คนจะจดจำเกตส์ได้จากงานการกุศลของเขา เขายังพูดด้วยว่าผู้คนก็จะลืมเลือนไปด้วยว่าไมโครซอฟท์คืออะไร ผู้คนจะลืมสตีฟ จ็อบส์ แต่จะมีอนุสาวรีย์ของเกตส์ตามประเทศโลกที่สามเต็มไปหมด ก่อนอื่นเราต้องมาดูกันว่างานการกุศลของเกตส์คืออะไร และมีความแตกต่างจากงานการกุศลอื่น ๆ อย่างไร เกตส์ลาออกจากตำแหน่งซีอีโอเพื่ออุทิศเวลาของตัวเองให้กับมูลนิธิ Bill & Melinda Gates Foundation ซึ่งเป็นมูลนิธิที่เกตส์และภรรยาตั้งขึ้น โดยเกตส์และภรรยาได้บริจาคเงินเกือบเก้าแสนล้านบาท (ถ้านึกไม่ออกว่าเยอะขนาดไหนก็ขอให้ลองนึกว่าสหประชาชาติมีงบประมาณซึ่งได้รับจากเงินบริจาคจากประเทศสมาชิกทั่วโลกปีละแสนสามหมื่นล้านบาท แปลว่าเงินที่เกตส์บริจาคนั้นเท่ากับที่แต่ละประเทศทั่วโลกจ่ายกันประมาณ 7 ปี) และสิ่งที่แตกต่างคือเกตส์ได้ใช้ความเป็นนักธุรกิจตัวยงของเขาในการบริหารมูลนิธิ เกตส์ใช้หลักการของการลงทุนเพื่อที่จะให้เงินที่ใช้ไปนั้นให้ผลลัพธ์ได้ดีที่สุด ซึ่งก็คือเกิดผลกระทบต่อผู้คนมากที่สุด มูลนิธิมีโครงการช่วยเหลือที่เน้นไปในปัญหายาก ๆ ทางด้านสุขภาพ ความยากจน และการศึกษา ถึงแม้จำนวนเงินและวิธีการที่เกตส์บริหารเงินการกุศลจะน่าสนใจ แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือเกตส์ได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งในการชักชวนให้คนอื่น ๆ โดยเฉพาะบรรดาเศรษฐีร่วมบริจาคเงินเพื่อการกุศลเช่นกัน โดยไม่จำเป็นว่าต้องบริจาคให้มูลนิธิของเขา ในบรรดาคนที่เกตส์ร่วมชักชวนให้บริจาคนั้นมีวอร์เรน บัฟเฟตต์ เจ้าพ่อตลาดหุ้นซึ่งถูกจัดว่าเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกอีกคนหนึ่ง บัฟเฟตต์ ตกลงที่จะบริจาคเงินให้กับมูลนิธิของเกตส์โดยมีเงื่อนไขคือมูลนิธิจะต้องใช้เงินเท่า ๆ กับเงินที่เขาบริจาคไปในแต่ละปี ซึ่งมีผลเท่ากับทำให้งบประมาณในแต่ละปีของมูลนิธินั้นเพิ่มเป็นสองเท่านั่นเอง เกตส์และภรรยาได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือชื่อ The Power of Half ซึ่งเล่าเรื่องราวของครอบครัว Salven ที่ขายบ้านของเขาทิ้งและนำเงินครึ่งหนึ่งที่ได้จากการขายบ้านมาบริจาคให้กับการกุศล เกตส์ได้ร่วมก่อตั้งโครงการ The Giving Pledge โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เศรษฐีต่าง ๆ ให้คำมั่นสัญญาว่าจะบริจาคเงินอย่างน้อย “ครึ่งหนึ่ง” ของเงินที่มีอยู่กับโครงการการกุศล โครงการนี้มีผู้สนใจเป็นอย่างมาก และมีผู้ร่วมโครงการให้คำสัญญาว่าจะบริจาคเงินรวมกันแล้วเกือบสี่ล้านล้านบาท ผู้ร่วมโครงการที่สำคัญที่เรารู้จักกันดีได้แก่ตัวเกตส์เอง บัฟเฟตต์ และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของเฟซบุ๊ก ก็จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เกตส์ทำนั้นมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อคนทั่วโลก สิ่งที่เกลดเวลล์พยายามชี้ให้เห็นคือ ถึงแม้ว่า ณ วันนี้ผู้คนจะจดจำจ็อบส์ในฐานะนักคิด นักธุรกิจที่ยอดเยี่ยม ในระยะยาวแล้วสิ่งที่คนจะจดจำก็คือผลกระทบที่คนผู้นั้นจะมีต่อโลกนั่นเอง และในแง่ดังกล่าว เกลดเวลล์เชื่อว่าคนจะจดจำเกตส์ได้อย่างไม่ต้องสงสัย แล้วสำหรับเมืองไทยล่ะครับ? จะมีผู้ใดบ้างที่จะเข้าร่วมโครงการ The Giving Pledge และกลายเป็นตำนานไป. นัทที นิภานันท์ ขอขอบคุณจาก dailynews.co.th
Share this game :

No comments:

Post a Comment

 

Copyright ©2011- 2013 เรื่องย่อละคร ดูละครย้อนหลัง ดูทีวีออนไลน์ 3,5,7,8,9,tpbs ดูละคร, ละครย้อนหลัง, ซิทคอม, รายการ